กิจกรรมโครงการ
"การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ บนฐานทุนทางวัฒนธรรมชุมชน" พื้นที่กรุงเทพมหานคร
ดำเนินงานโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปี 2564
เพื่อให้ทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนที่มีคุณค่าได้นำมาสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และอุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม (Cultural Industries) โดยอาศัยแนวคิดกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนผ่านกิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม โครงการวิจัย “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ บนฐานทุนทางวัฒนธรรมชุมชน” จึงได้จัดทำขึ้นเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนผ่านความร่วมมือของศิลปิน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่และสถาบันการศึกษา โดยจะดำเนินการ 4 พื้นที่ ได้แก่ (1) จังหวัดกาญจนบุรี (2) จังหวัดสุพรรณบุรี (3) จังหวัดนครปฐม (4) กรุงเทพมหานครฯ ซึ่งทั้ง 4 พื้นที่อยู่ในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคกลางตอนล่าง ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อทดลองขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมให้มีผลต่อเศรษฐกิจชุมชนผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์
สุพรรณบุรี เป็นเมืองโบราณ พบหลักฐานทาง โบราณคดี มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500 - 3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสัมฤทธิ์ ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่ สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี ศรีวิชัย สุพรรณบุรี เดิมมีชื่อ "ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ "พันธุมบุรี" ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบ บริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง ต่อมาพระเจ้ากาแตได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า "เมืองสองพันบุรี" ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่งใต้หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อเมืองเรียกวา "อู่ทอง" จวบจนสมัยขุนหลวงพะงั่วเมืองจึงถูกเรียกว่าชื่อว่า "สุพรรณบุรี" นับแต่นั้นมา